วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีที่มาของความกล้า

(นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความคิดเห็นที่ยังไม่ถูกพิสูจน์โดยการทดลอง การตั้งชื่อหัวข้อว่า 'ทฤษฎี' นั้นอาจยังไม่ถูกต้องมากนัก หากมีอะไรผิดพลาด หรือทำให้ไม่ถูกใจ จึงต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย)
'กล้าหาญ' คำนี้มีความหมายแปรผันไปตามเหตุการณ์ที่ถูกใช้

ถ้าคุณทำอะไรบางอย่าง ที่คนอื่นไม่คิดจะเสี่ยงลงมือทำ คุณอาจจะเป็นคน 'กล้าหาญ'
ถ้าคุณทำอะไรบางอย่าง ที่ไม่มีใครเริ่มทำ คุณอาจจะเป็นคน 'กล้าหาญ'
และบางที ถ้าคุณทำอะไรบางอย่าง ที่คนอื่นไม่ทำกัน คุณก็อาจจะเป็นคน 'กล้าหาญ'

จะเห็นได้ว่าคำว่า 'กล้าหาญ' บางทีก็ไม่ได้ถูกใช้อธิบายความดีของคนๆ หนึ่ง อย่างเช่นประโยคสุดท้ายที่ผมได้ยกตัวอย่างไป ถ้าอ่านดูดีๆ จะพบว่าคำว่า 'กล้าหาญ' ในประโยคนั้นกลับทำหน้าที่แทนคำว่า 'หน้าด้าน' ที่น่าสงสัยนั้นไม่ใช่ความเหมาะสมของการใช้คำว่า 'กล้าหาญ' ไม่ใช่ความยืดหยุ่นของความหมายของคำๆ นี้ แต่ประเด็นที่น่าสงสัยคือพฤติกรรมที่แสดงออกมาของคนที่ถูกเรียกว่า 'กล้าหาญ' หากยังไม่เข้าใจ ลองอ่านทบทวนสามประโยคด้านบนอีกสักรอบ แล้ววิเคราะห์ดูใหม่ ถึงแม้ว่าความหมายของคำว่า 'กล้าหาญ' ในแต่ละประโยคดังกล่าวจะไม่เหมือนกันตามที่ได้บอกไปแล้วนั้น แต่จะเห็นว่าพฤติกรรมของคนที่ถูกเรียกว่า 'กล้าหาญ' ในทุกประโยคนั้นมีความคล้ายคลึงกัน ทุกคนล้วน
ทำในสิ่งที่ไม่มีคนทำ
และสิ่งที่น่าสงสัยต่อไปอีกซึ่งทำให้เกิดเรื่องราวตอนต่อไปที่ผมจะพูดถึงคือ 'แล้วทำไมคนเหล่านี้ถึงได้แสดงพฤติกรรมดังกล่าวออกมา'

ก่อนอื่นขอให้ผู้อ่านลองเชื่อแบบผมดูก่อน ว่า 'คนเราไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามแต่ หากเป็นสิ่งที่ผู้กระทำ ตั้งใจทำ ไม่ว่าจะโดยสมัครใจหรือไม่สมัครใจก็ตาม ย่อมได้ประโยชน์จากการกระทำนั้นๆ เสมอ' หลายคนอ่านแล้วคงตะหงิดใจว่าแล้วคนที่ 'เสียสละ' หละ สำหรับคนที่ขัดใจ ให้ลองมองอย่างนี้ดูว่า เวลาเราถามใครสักคนหนึ่งว่าทำสิ่งๆ หนึ่งไปทำไม คนๆ นั้นจะมีคำตอบให้เสมอ ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม อย่างไปถามคนที่ 'เสียสละ' เพื่อชาติที่รักว่าทำไปทำไม เขาก็อาจจะตอบมาว่า 'ความสุข' นั่นแหละครับ คือประโยชน์ที่เขาได้รับคือ เขามีความสุข
(หมายเหตุ: แต่เหตุการณ์หนึ่งที่จะทำให้สิ่งที่ผมเชื่อนั้นอธิบายไม่ได้ก็คือ คำถามที่ได้คำตอบว่า 'ไม่รู้')

และที่อยากขอให้เชื่ออีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องของคนที่ยอมสละชีวิตตัวเอง ไม่สนว่าชีวิตตัวเองจะเป็นอย่างไร อันนี้ผมขอให้อนุมานว่าเป็นภาวะโรคจิตอย่างหนึ่งก็แล้วกันครับ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วคนที่ยอมสละชีวิตตัวเอง มักจะคิดว่าชีวิตของตนเองนั้นด้อยค่ากว่าของผู้อื่น หรือไม่มีค่าเลย ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นภาวะซึมเศร้าอย่างหนึ่ง
(หมายเหตุ: สำหรับการเสียสละเพื่อความรักนั้น อาจไม่จัดว่าเป็นภาวะทางจิตก็ได้ แต่ก็ถือว่าผู้ที่กระทำได้ประโยชน์อยู่ดี)

หลังจากที่พยายามทำใจเชื่อนิดๆ ในสิ่งที่ผมได้กล่าวไปแล้ว ก็จะพบว่าคนที่ทำตามเงื่อนไขที่ผมได้กล่าวไปแล้ว ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะได้ประโยชน์เสมอ และพฤติกรรมกล้าหาญของบุคคลๆหนึ่งนั้น ย่อมเกิดจากความไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน จึงเป็นสิ่งที่ตั้งใจทำ ถ้าผู้อ่านเชื่อในสิ่งที่ผมได้บอกไปแล้วนั้น จะตอบได้เลยว่า ดังนั้นคนที่แสดงพฤติกรรมกล้าหาญ ก็ต้องได้ประโยชน์จากสิ่งที่ได้กระทำลงไปอย่างแน่นอน แล้วประโยชน์ที่ว่านั้นคืออะไรหละ?

ถ้าคิดง่ายๆ ก็คงเป็นสิ่งที่จะตามมาในภายหลัง ตัวอย่างเช่น ชื่อเสียง เงินทอง อำนาจ กิเลศต่างๆ นาๆ แต่ถ้าเป็นในกรณีที่มันไม่มีอะไรจะเสียแล้วหละ? ความกล้ามาจากไหน สิ่งที่ผมขอให้เชื่อสามารถอธิบายได้ครับ ว่าเหตุใดในกรณีที่ไม่เหลืออะไรให้เสีย ไม่มีอะไรให้ได้ แล้วความกล้ามาจากไหน

ผมพูดไปแล้วว่าพฤติกรรมกล้าหาญนั้นเกิดจากความตั้งใจของผู้กระทำ มีการคิดไตร่ตรองก่อนที่จะลงมือทำ ดังนั้นลองจินตนาการถึงความคิดของบุคคลที่แสดงพฤติกรรมกล้าหาญตอนที่บุคคลนั้นกำลังไตร่ตรองดูครับ สิ่งที่ควรจะเป็นความคิดของบุคคลนั้นๆ ก็คือ 'จะทำ หรือไม่ทำ' 'ทำแล้วจะทำได้ไหม' อะไรประมาณนี้ แต่ว่าสิ่งที่เราจะพิจารณาจริงๆ นั้นคือพฤติกรรมที่ได้แสดงออกไปแล้ว คือช่วงของตอนที่บุคคลนั้นๆ ได้กระทำในสิ่งที่ตัดสินใจไปแล้ว เพราะฉะนั้นแสดงว่าบุคคลดังกล่าวย่อมตัดสินใจว่า 'จะทำ' และ ต้องเชื่อมั่นว่า 'ทำแล้วต้องได้' ซึ่งการที่เชื่อว่า 'ทำแล้วต้องได้' 'ทำแล้วต้องสำเร็จ' นั้นก็คือประโยชน์อย่างหนึ่งที่ผู้แสดงพฤติกรรมกล้าหาญดังกล่าวจะได้รับนั่นเอง

จากที่กล่าวมายืดยาวหลายคนอาจจะงง ว่าผมเขียนเรื่องนี้ทำไม ไม่เห็นจะรู้เรื่องเลยว่าต้องการจะสื่ออะไรออกมา แต่ทั้งหมดนั่นก็คือความคิดของผม ซึ่งยังคงมีอีกหลายๆ อย่างที่ความคิดของผมยังคงอธิบายไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น ความขัดแย้งบางประการที่เกิดจากการแสดงพฤติกรรมกล้าหาญออกไปโดยไม่มีความมั่นใจว่าตัวเองจะทำได้

แต่โดยสรุปแล้วจริงๆ ผมจะสื่อว่า 'ไม่มีความกล้าหาญใดๆ ที่เป็นการเสียสละโดยแท้จริง'

จบคำชี้แจง!

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทุกวันนี้เขาเลี้ยงลูกกันยังไง?

'อาจารย์ข้อนี้ตอบอะไร?'
ผม : 'ตอบ ข. หรือเปล่าครับ'
'ใช่ ต้องตอบ ข. เนี่ยแหละ เพราะมันเป็นเรื่อง....'
'ไม่จำเป็น'

'ผมไปเรียนกรุงเทพมา'

ถ้าเก่งนัก.... ก็ไปอยู่เลยสิครับ กทม. จะมายมปรักอยู่ รยว. ทำไม
รู้ครับว่าเก่ง... แต่ลองเอาหัวแข็งๆ ของมึงมาเทียบกับลูกตะกั่วไหม อะไรจะแข็งกว่ากัน
ที่ไม่ไป กทม. คงอยู่คนเดียวไม่ได้ใช่ไหมครับ พ่อแม่ต้องประคบประหงม ไอ้ลูกแหง่!

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มันช่างเหนื่อยที่ใจ

ถึงแม้ช่วงนี้ผมจะนอนน้อยเอามากๆ
เฉลี่ยแล้วในหนึ่งอาทิตย์นอนวันละ 3 ชั่วโมงเศษๆ
ตื่นไปโรงเรียนก็งัวเงียแค่ช่วงเช้า ส่วนที่เหลือนั้นก็กระปรี้กระเป่าเหมือนเคย
ความรู้สึกเหนื่อยกายมันไม่ค่อยมีอยู่เท่าไหร่
แม้บางทีจะรู้สึกง่วงบ้าง แต่ก็ไม่ได้ถึงขนาดกับจะทำอะไรไม่ไหว

การอ่านหนังสือเป็นไปอย่างเนิบๆ เหมือนไม่ได้รีบอะไร
สมองนั้นถูกใช้ไปตามปกติ ยังคงไม่มีเรื่องให้คิดแบบดูดพลัง

ทุกอย่างดูเหมือนจะปกติหมด ชีวิตประจำวันเหมือนจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง


แต่ทำไมมันถึงรู้สึกเหนื่อยอย่างอื่นแทน กำลังกายนั้นมีพร้อม แต่กลับไม่พร้อมที่จะทำอะไรต่ออะไรใหม่ๆ
ทำไมช่วงนี้มัน 'เหนื่อยใจ' จัง

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ว่ากันด้วยเรื่อง "แย่งที่เรียน"

เรื่องนี้เหมือนจะเคยเป็นประเด็นร้อนใน Facebook Chat ของผมอยู่สักพักหนึ่ง รวมถึงใน Group ที่ผมอยู่ด้วย ว่าจริงๆ แล้วการ "แย่งที่เรียน" "กั๊กที่เรียน" มันสมควรจะทำหรือไม่ ไอ้ตัวผมเองก็ชอบออกความเห็นนู่นนี่ไปเรื่อย ก็เลยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปเยอะพอตัวอยู่เหมือนกัน พอดีว่าวันนี้ไปไล่อ่านบล็อกคนอื่นมาแล้วรู้สึกว่าอยากเขียนบ้างจัง ไม่รู้จะเขียนเรื่องอะไร ก็เลยขอเปิดประเด็นนี้ขึ้นมาอีกรอบหนึ่ง

(จริงๆ แล้วเรื่องนี้มีส่วนมาจากที่โรงเรียนด้วยครับ เลยอยากบ่นนิดหน่อย)
สำหรับการเปิดประเด็นขึ้นมาใหม่ครั้งนี้ ก็อย่างที่ว่าไปในวงเล็บครับว่ามีสาเหตุมาจากที่โรงเรียนนิดหน่อย (หรืออาจจะส่วนใหญ่) ก็เลยอยากเขียนครับ อยากระบายให้หลายๆ คนที่มองกันอีกมุมอยู่ ได้ลองหันมามองอีกมุมกันดูบ้างว่าเป็นอย่างไร

ก่อนอื่นผมขอสมมติให้นายกอเป็นคนที่มีความมุ่งมั่นสูงมากๆ เลย ตลอดสามปีของการเรียนชั้น ม.ปลาย นายกอทุ่มเทให้กับการเรียน นานกอทำโจทย์ทุกวัน ทบทวนบทเรียนต่างๆ ทุกวัน จนถึงปีสุดท้าย ในการสอบแต่ละครั้งนายกอพบว่าข้อสอบมันช่างง่ายดายเหลือเกิน ไม่ว่าโจทย์ข้อไหนๆ ก็เคยเจอมาหมดแล้ว จึงไม่แปลกที่จะสอบได้ทุกๆ ที่ที่ได้ไปสอบ

ในขณะเดียวกันก็มีคนอีกคนหนึ่งคือนายขอที่ตลอดสามปีของการเรียน ม.ปลาย แทบจะไม่ได้ทำอะไรเลยนอกจากเล่นไปวันๆ ไม่ใส่ใจถึงอนาคตข้างหน้าว่ามีอะไรรออยู่บ้าง พึ่งจะมากระตือรือร้นได้ก็ตอนขึ้นปีสุดท้ายแล้ว สุดท้ายตอนสอบก็อ่านหนังสือไม่ทัน ในที่สุดก็ไม่ได้ที่เรียนที่ฝันเอาไว้

ก่อนจบ ม.๖ นายขอมาพูดกับนายกอว่ามึงมันเห็นแก่ตัว รู้ทั้งรู้ว่าตัวเองจะสอบได้ ก็ยังไปสอบกั๊กที่คนอื่นเขา สุดท้ายก็ไม่เอา นายกอนายมันเหี้ยจริงๆ

ถ้าคุณเป็นนายกอ จะตอบนายขอว่าอย่างไร ถ้าคุณเป็นนายกอ จะรู้สึกอย่างไรที่นายขอมาพูดแบบนี้
สำหรับผม ถ้าผมเป็นนายกอ คงรู้สึกน้อยใจพิลึกนะครับที่กูพยายามแทบตาย กว่าจะมายืนตรงจุดนี้ได้ แต่มึงมันสวะดีๆ นี่เองวันๆ ไม่ทำอะไร ถึงเวลาไม่ได้อย่างที่ต้องการก็มาด่ากูเหี้ย ถ้าผมเป็นนายกอแล้วมีคนมาพูดกับผมอย่างนี้จริงๆ ผมคงตะโกนด่าว่าไอ้ควายกระแทกหน้าไปแล้ว

ก็นะครับเห็นอะไรกันบ้างหรือยัง เห็นอีกมุมหนึ่งของเรื่องนี้กันหรือเปล่า? ก็ลองคิดกันดูละกันนะครับว่าถ้าคุณเป็นนายกอ คุณจะรู้สึกอย่างไร แล้วก็ถ้าได้อ่านเรื่องนี้แล้วก็อยากให้คิดกันซักนิดก่อนที่จะทำตัวกันแบบนายขอนะครับว่า ก่อนไปว่าคนอื่น มองดูตัวเองหรือยัง?
 
 
Theme by Diovo.com (Edited by Zenn)